Conicle เปลี่ยนการเรียนรู้สู่ประสบการณ์ใหม่"เพราะการเรียนรู้คือพลังสำคัญ เมื่อเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง"

กรุงเทพฯ 10 ธันวาคม 2563 CONICLE แพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาบุคลากรที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย ได้จัดงาน RE:D Day ณ Common Ground ที่ CentralWorld เมื่อเร็วๆนี้เพื่อส่งข้อความถึงนายจ้างและลูกจ้างในการพัฒนาทักษะและยกระดับพลังแห่งการเรียนรู้เพื่อปรับให้เข้ากับการทำงานในอนาคต ซึ่งในงานนี้ประกอบไปด้วยการบรรยายนำโดย Conicle และสองผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจชั้นนำของไทยจาก QGEN - HR Practice Provider และ AIS Academy
วิทยากรทั้งสามได้แบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับ RE:Define, RE:Discuss และ RE:Design โดยเน้นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่แน่นอน ความพยายามเหล่านี้สามารถนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ช่วยพัฒนาบริษัทและทรัพยากรบุคคลให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ
สรุปการนำเสนอของวิทยากรทั้งสามท่าน
RE:Define ขอบเขตของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จาก e-learning สู่ Learning Experience ที่ประกอบไปด้วย การเป็น Learning base on experience การเรียนรู้ที่มี Feedback การเรียนที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับเฉพาะบุคคล
RE:Discuss การมองหาความสามารถที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคต การสร้างบุคลากรที่จัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อเพิ่ม Value ให้กับบริษัท
RE:Design ประสบการณ์การเรียนรู้ของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ที่จะเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร โดยแนวคิดนี้มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุง Mindset Skillset และ Toolset
“RE:D (อ่านว่า รีดี หรือ เรด) เปรียบเสมือนการแจ้งเตือนที่บ่งบอกให้เรารู้ว่าเราต้องลงมือทำบางอย่างแล้ว” เป็นคำกล่าวของ คุณปูน-นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ CEO & Co-Founder บริษัท Conicle ซึ่งได้เริ่มต้น Speech ที่น่าสนใจ ด้วยธีม Re:Define ด้วยการบอกถึงสัญญาณเตือน 3 ข้อ ซึ่งประกอบไปด้วย
• 8 ใน 10 ของอาชีพในอนาคตจะเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่
• AI กำลังเข้ามาแย่งอาชีพ คนยุคใหม่จำเป็นต้องปรับตัว
• คนรุ่นใหม่ต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
สัญญาณทั้ง 3 ข้อได้สะท้อนว่า คนกับความรู้คือกุญแจสำคัญในโลกการทำงานยุคใหม่ เทคโนโลยีทางด้านการเรียนรู้อย่าง e-learning จะถูกใช้งานมากขึ้น แต่กระนั้นด้วยความที่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะบริบทขององค์กรสมัยใหม่ กระบวนการที่ยังไม่สามารถสร้างการเรียนรู้ได้จริง เนื้อหาที่ยังไม่มีความน่าสนใจ และการที่ตัวผู้เรียนขาดการมีส่วนร่วมจึงไม่อาจตอบโจทย์สำคัญได้ นั้นนำไปสู่การ RE:Define จาก e-learning สู่ Learning Experience ที่ประกอบไปด้วย การเป็น Learning base on experience การเรียนรู้ที่มี Feedback การเรียนที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับเฉพาะบุคคล และระบบที่เป็นเครื่องมือที่จะเข้ามารองรับทั้ง 3 ส่วน
คุณบี อภิชาติ ขันธวิธิ Managing Director จากบริษัท QGEN Consultant ได้เริ่มต้นด้วยคำถามที่ชวนสงสัยว่า “Talent ในองค์กรที่อยากให้เกิดขึ้นเป็นแบบไหน” และ “คนเก่งคนเดิมยังเป็น Talent อยู่อีกไหม?” นำไปสู่ VUCA โดยเป็นคำที่บอกถึงความไม่แน่นอนทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ/หรือเทคโนโลยี ซึ่งต้องแก้ไขด้วย การมีมุมมองที่หลากหลายกว้างไกล การทำความเข้าใจตนเองและองค์กร การเปลี่ยนสิ่งที่มีความซับซ้อนให้ชัดเจนมากขึ้น และต้องมีความยืดหยุ่นนำไปสู่การ RE:Discuss คือการจัดการ Workforce ที่ให้ความสำคัญกับ Business Strategy เพื่อเพิ่ม Value ให้กับองค์กร ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือการให้ความสำคัญกับ Character ให้มากขึ้น การกำหนดทั้งกระบวนการที่ได้มาซึ่ง Talent และรักษาไว้ และท้ายสุดการกระตุ้นพนักงานให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
และปิดท้ายด้วยการบรรยายของ ดร.ปรง ธาระวานิช Head of AIS Academy และ SVP HR จากบริษัท Intouch Holdings ที่มาบอกเล่าประสบการณ์จริงจากการ RE:Design ที่ได้พบเจอ ทั้งความแตกต่างในประสบการณ์ของแต่ละบุคคลอันเกิดจาก และความแตกต่างในประสบการณ์ของแต่ละ Generation ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์การทำงานในองค์กรโดยภาพรวมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป การ RE:Design จึงต้องเกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างประสบการณ์ใหม่บนความพร้อมในทุกด้าน โดยจะต้องให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบดังต่อไปนี้ Mindset (มีความสำคัญ 70%) Skillset (มีความสำคัญ 20%) และ Toolset (มีความสำคัญ 10%) โดย AIS ได้นำเครื่องมือที่เรียกว่า AIS LearnDi (by Conicle) มาสนับสนุนในการสร้างประสบการณ์เรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย mevans. ขับเคลื่อนโดย Blogger.