โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ถอดบทเรียนจาก Covid-19 ปรับหลักสูตรใหม่ มุ่งสร้าง “พยาบาลแห่งอนาคต”
กรุงเทพฯ กุมภาพันธ์ 2564 - โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยวิสัยทัศน์การจัดการศึกษา เพื่อเตรียมรับมือวิกฤตการณ์ใหม่ จากการถอดบทเรียน COVID-19 และ การมาถึงของสังคมผู้สูงอายุ ที่จะท้าทายระบบสาธารณสุขของไทยในอนาคตอันใกล้ โดยมุ่งปรับหลักสูตร เพิ่มชุดทักษะใหม่ ปั้น “พยาบาลแห่งอนาคต” ที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพ เท่าทันเทคโนโลยี รู้สร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาใหม่ และดูแลผู้ป่วยทั้งกายใจได้อย่างเป็นองค์รวม
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับหลักสูตรปริญญาตรี โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาพยาบาลปีการศึกษา 2564 ทั้งรอบโควต้า และแอดมิชชั่น ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://med.mahidol.ac.th/nursing
สอบถามข้อมูล:
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 02-201-2130
ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 ในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และยังเป็นความท้าทายอันใหญ่หลวงของระบบสาธารณสุข
ในวิกฤตนี้ สังคมไทยได้เห็นบุคลากรด้านสาธารณสุขอันหลากหลายใช้ความสามารถช่วยคลี่คลายสถานการณ์ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะ “พยาบาล” ซึ่งเป็นบุคลากรด่านหน้าที่เผชิญกับปัญหาก่อนใคร งานของพยาบาลเริ่มตั้งแต่ตรวจซักประวัติเพื่อคัดกรองผู้ป่วย ควบคุมโรคติดเชื้อ จัดสรรเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไปจนถึงหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง พยาบาลจึงเป็นงานสำคัญที่ขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขและค้ำจุนสุขภาวะของเพื่อนร่วมสังคม
ในวิกฤตนี้ สังคมไทยได้เห็นบุคลากรด้านสาธารณสุขอันหลากหลายใช้ความสามารถช่วยคลี่คลายสถานการณ์ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะ “พยาบาล” ซึ่งเป็นบุคลากรด่านหน้าที่เผชิญกับปัญหาก่อนใคร งานของพยาบาลเริ่มตั้งแต่ตรวจซักประวัติเพื่อคัดกรองผู้ป่วย ควบคุมโรคติดเชื้อ จัดสรรเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไปจนถึงหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง พยาบาลจึงเป็นงานสำคัญที่ขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขและค้ำจุนสุขภาวะของเพื่อนร่วมสังคม
นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 และโรคอุบัติใหม่อื่นๆ แล้ว ยังมีความท้าทายด้านสุขภาพอีกมาก เช่น ประเทศไทยกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aging Society) ในปี 2565 โรคทางจิตเวชที่ปรับเปลี่ยนตามสภาพสังคม การเคลื่อนย้ายถิ่นของแรงงานในภูมิภาค แม้กระทั่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นปัญหาที่ทวีความเข้มข้น ซึ่งทั้งระบบสาธารณสุขของประเทศไทย และ พยาบาลยุคใหม่ต้องเตรียมพร้อมรับมือ
รองศาสตราจารย์ ดร.พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะสถานบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรด้านการพยาบาล เราได้เล็งเห็นความสำคัญของการปรับหลักสูตรให้ทันสมัย ภายใต้วิสัยทัศน์ “พยาบาลแห่งอนาคต” เรามุ่งผลิตพยาบาลที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพของตนเอง มีความรู้ข้ามศาสตร์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าใจความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี จึงได้ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ ให้นักศึกษามีความพร้อมใน 3 มิติ
มิติแรก คือ การมีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ มีความรู้ข้ามศาสตร์ เพื่อเปิดกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ร่วมทั้งมีแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ได้
มิติที่สอง คือ การมีความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความสามารถในการแปลผลและรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
มิติสุดท้าย คือ ความเข้าใจเพื่อนมนุษย์ ที่มีความหลากหลาย เช่น เชื้อชาติ เพศ วัย วัฒนธรรม ฯลฯ” ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีทักษะชีวิตที่สามารถปรับตัว ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่าง
“ในหลักสูตรใหม่นี้ เราได้นำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการคาดการณ์ปัญหาสุขภาพในอนาคตมาบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน รวมทั้งยังสอนให้นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองผ่านการใช้เทคโนโลยี เพื่อติดตามความก้าวหน้าและรู้ทันปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
“ในการเรียนการสอน นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้และทำงานร่วมกับบุคลากรด้านสาธารณสุขจากสหสาขาวิชาชีพแล้ว นักศึกษายังฝึกการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) ทำให้มีทักษะการคิดแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เคยพบมาก่อน ก็จะมีความยืดหยุ่น แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี”
มิติแรก คือ การมีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ มีความรู้ข้ามศาสตร์ เพื่อเปิดกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ร่วมทั้งมีแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ได้
มิติที่สอง คือ การมีความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความสามารถในการแปลผลและรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
มิติสุดท้าย คือ ความเข้าใจเพื่อนมนุษย์ ที่มีความหลากหลาย เช่น เชื้อชาติ เพศ วัย วัฒนธรรม ฯลฯ” ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีทักษะชีวิตที่สามารถปรับตัว ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่าง
“ในหลักสูตรใหม่นี้ เราได้นำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการคาดการณ์ปัญหาสุขภาพในอนาคตมาบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน รวมทั้งยังสอนให้นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองผ่านการใช้เทคโนโลยี เพื่อติดตามความก้าวหน้าและรู้ทันปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
“ในการเรียนการสอน นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้และทำงานร่วมกับบุคลากรด้านสาธารณสุขจากสหสาขาวิชาชีพแล้ว นักศึกษายังฝึกการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) ทำให้มีทักษะการคิดแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เคยพบมาก่อน ก็จะมีความยืดหยุ่น แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี”
อาจารย์ ดร.นันทนิจ แวน กูลิค อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลพื้นฐาน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนว่า “ความรู้จากการเรียนจะต้องถูกนำมาใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทำซ้ำๆบ่อยๆ ให้คล่อง จึงจะเกิดเป็น “ทักษะ” เราจึงจัดให้มีหุ่นเสมือนจริง สำหรับฝึกเจาะเลือด ฉีดยา ทำคลอด ทำ CPR ปั๊มหัวใจ นักศึกษาจะได้ฝึกตั้งแต่ชั้นปี 2 การฝึกช่วยให้ทำได้แคล่วคล่องและมั่นใจมากขึ้น
เรามีการจำลองเหตุการณ์ เช่น การทำ Disaster Triage เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการจัดการภาวะฉุกเฉินที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากในสถานการณ์จำลองที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง ได้ฝึกคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และวางแผนการจัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ภายใต้สถานการณ์ที่กดดัน รีบเร่ง ซึ่งในอนาคตข้างหน้ามีโอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติมากขึ้น”
“เราเชื่อว่า เมื่อพยาบาลมีความสามารถรอบด้านมากขึ้น ก็จะสามารถดูแลผู้ป่วยครอบคลุมอย่างเป็นองค์รวม ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มขีดความสามารถให้ระบบสาธารณสุขของประเทศ ให้รับมือกับวิกฤตการณ์ได้อย่างมีความมั่นคงมากขึ้น” รองศาสตราจารย์ ดร.พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ กล่าวปิดท้าย
เรามีการจำลองเหตุการณ์ เช่น การทำ Disaster Triage เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการจัดการภาวะฉุกเฉินที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากในสถานการณ์จำลองที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง ได้ฝึกคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และวางแผนการจัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ภายใต้สถานการณ์ที่กดดัน รีบเร่ง ซึ่งในอนาคตข้างหน้ามีโอกาสที่จะเกิดภัยพิบัติมากขึ้น”
“เราเชื่อว่า เมื่อพยาบาลมีความสามารถรอบด้านมากขึ้น ก็จะสามารถดูแลผู้ป่วยครอบคลุมอย่างเป็นองค์รวม ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มขีดความสามารถให้ระบบสาธารณสุขของประเทศ ให้รับมือกับวิกฤตการณ์ได้อย่างมีความมั่นคงมากขึ้น” รองศาสตราจารย์ ดร.พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ กล่าวปิดท้าย
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับหลักสูตรปริญญาตรี โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาพยาบาลปีการศึกษา 2564 ทั้งรอบโควต้า และแอดมิชชั่น ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://med.mahidol.ac.th/nursing
สอบถามข้อมูล:
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 02-201-2130
ไม่มีความคิดเห็น