การเงินสีเขียว: อีกก้าวที่จำเป็นสู่อนาคตที่ยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะทางการเมืองและเศรษฐกิจ และน่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า รัฐบาล นักลงทุน องค์กร ทั่วโลกต่างเริ่มดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้กลยุทธ์การลดคาร์บอน หรือ Decarbonization โดยที่หลายประเทศและองค์กรเอกชนต่างให้คำมั่นสัญญาที่จะบรรลุเป้าหมายเน็ตซีโร่ (Net Zero) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งแรงกดดันจากลูกค้า นักลงทุน หน่วยงานกำกับดูแลพนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายนั้นเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ
อย่างไรก็ตามความตั้งใจและคำมั่นสัญญาจำเป็นที่จะต้องตามมาด้วยการลงมือทำ และแน่นอน เงินทุน การเปลี่ยนเข้าสู่เศรษฐกิจที่ไร้การปล่อยคาร์บอน จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเงินสีเขียว (Green finance) เพื่อที่จะสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG emissions) และช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ถึงแม้ว่าหลายฝ่ายได้ประมาณการเงินทุนที่คาดว่าจะต้องใช้ในจำนวนที่ต่างกันออกไป แต่ทุกฝ่ายคาดว่าจะอยู่ในหลักล้านล้านเหรียญสหรัฐ กลุ่ม G20 ประมาณการว่าจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการลงทุนทั่วโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป้าหมายด้านการลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น อยู่ที่ 90 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 15 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency – IEA) ประมาณการว่าแค่อุตสาหกรรมพลังงานอุตสาหกรรมเดียวจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนรวม 53 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2578 เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าการที่จะบรรลุเน็ตซีโร่ได้นั้น การสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเดียวนั้นไม่สามารถรองรับการลงทุนทั้งหมดได้ ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เงินลงทุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกัน
เพราะฉะนั้น ปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการเพิ่มความสามารถให้กับระบบการเงินในการกระจายเงินทุนจากภาคเอกชน (Private capital) เพื่อการลงทุนสีเขียว และการลงทุนที่ยั่งยืน สถาบันทางการเงินมีบทบาทเป็นแหล่งเงินทุนกู้ยืม เป็นผู้สนับสนุนความหลากหลายและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเป็นผู้ช่วยเหลือลูกค้าเพื่อให้ห่วงโซ่อุปสงค์อุปทานและโมเดลธุรกิจของพวกเขาได้มาตรฐานด้านความยั่งยืน
ในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย การลงทุนที่ยั่งยืนมีความก้าวหน้ามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2562 World Wide Fund for Nature (WWF) ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย ได้ออกแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance – ESG) สำหรับสถาบันทางการเงิน นอกจากนี้โครงการริเริ่มทางการเงินของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme Financing Initiative) ได้ออกหลักเกณฑ์ความรับผิดชอบทางการธนาคาร (The Principles for Responsible Banking) ในปี 2562 ซึ่งจะทำให้นโยบายการกู้ยืมเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเป้าหมายด้านความยั่งยืนมากขึ้น ภายใต้หลักเกณฑ์เหล่านี้ ธนาคารต่างยึดมั่นที่จะทำกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDG) ขององค์การสหประชาชาติ
แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าด้านนี้ ทั่วโลกยังคงต้องการเงินทุนอีกเยอะเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อที่จะจับคู่นักลงทุนกับความต้องการด้าน Green Finance และเพื่อกระจายเงินทุนในอัตราส่วนที่ต้องการ ปัจจุบันเครื่องมือทางการเงินส่วนหนึ่งที่ใช้สำหรับ Green Finance มีดังนี้
— ตราสารหนี้สีเขียว (Green bonds) เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมในการระดมทุนสำหรับโครงการที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกับโครงการที่เกี่ยวกับการคมนาคมที่คาร์บอนต่ำ พลังงานสะอาด และอาคารที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดี ต่อจากนี้ Green bonds น่าจะเป็นทางเลือกหลักสำหรับ Green Finance
— กองทุนรวมตราสารทุนสีเขียว (Green equity funds) คือกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในโครงการที่มีนโยบายด้านความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักลงทุนสามารถรวมเงินลงทุนกันเพื่อลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่ได้ตกลงกันไว้ ใน 15 ปีที่ผ่านมา Green equity funds มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน
— การกู้ยืมสีเขียว (Green loans) คือการกู้ยืมเงินเพื่อไปใช้สร้างความยั่งยืนด้านสิงแวดล้อม ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับตราสารหนี้สีเขียว
“ถึงแม้ว่า Green bonds, Green equity funds และ Green loans จะช่วยเปิดทางให้นักลงทุนสามารถลงทุนโครงการที่มีความยั่งยืน แต่การที่จะมีเงินทุนเพียงพอกับจำนวนที่คาดว่าจะต้องใช้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือทางการเงินอื่นเข้ามาช่วยด้วย” กาเนสัน โคลันเดเวลู หัวหน้าฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน เคพีเอ็มจี ประเทศไทยกล่าว “ซึ่งเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้อาจรวมถึงสินค้าสีเขียวต่างๆ เช่น การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์สีเขียว (Green securitization) ทำให้สามารถรวมกลุ่มการกู้ยืมเงินขนาดเล็กเข้าไว้ด้วยกันเพื่อดึงดูดนักลงทุนกลุ่มใหม่; และการเช่า/การเช่าซื้อสีเขียว (Green leasing/renting) เช่นการเช่าซื้อสินทรัพย์ การเช่าซื้อรถยนต์ การเช่าซื้อพลังงาน และการจำนองสีเขียวเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีทางเลือกอื่นเช่น การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) ประกันด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate insurance) และตราสารหนี้ที่ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Transition and sustainability bonds) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือทางการเงินหรือโซลูชั่นแบบไหน สิ่งที่แน่ชัดคือการที่จะสร้างอนาคตสีเขียวให้สำเร็จได้นั้น จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วน ทุกอุตสาหกรรม และทุกประเทศ ที่เคพีเอ็มจี เรามีผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้องค์กรเข้าสู่เส้นทางด้านการเงินสีเขียวได้”
ในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย การลงทุนที่ยั่งยืนมีความก้าวหน้ามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2562 World Wide Fund for Nature (WWF) ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย ได้ออกแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance – ESG) สำหรับสถาบันทางการเงิน นอกจากนี้โครงการริเริ่มทางการเงินของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme Financing Initiative) ได้ออกหลักเกณฑ์ความรับผิดชอบทางการธนาคาร (The Principles for Responsible Banking) ในปี 2562 ซึ่งจะทำให้นโยบายการกู้ยืมเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเป้าหมายด้านความยั่งยืนมากขึ้น ภายใต้หลักเกณฑ์เหล่านี้ ธนาคารต่างยึดมั่นที่จะทำกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDG) ขององค์การสหประชาชาติ
แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าด้านนี้ ทั่วโลกยังคงต้องการเงินทุนอีกเยอะเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อที่จะจับคู่นักลงทุนกับความต้องการด้าน Green Finance และเพื่อกระจายเงินทุนในอัตราส่วนที่ต้องการ ปัจจุบันเครื่องมือทางการเงินส่วนหนึ่งที่ใช้สำหรับ Green Finance มีดังนี้
— ตราสารหนี้สีเขียว (Green bonds) เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมในการระดมทุนสำหรับโครงการที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกับโครงการที่เกี่ยวกับการคมนาคมที่คาร์บอนต่ำ พลังงานสะอาด และอาคารที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดี ต่อจากนี้ Green bonds น่าจะเป็นทางเลือกหลักสำหรับ Green Finance
— กองทุนรวมตราสารทุนสีเขียว (Green equity funds) คือกองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในโครงการที่มีนโยบายด้านความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักลงทุนสามารถรวมเงินลงทุนกันเพื่อลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่ได้ตกลงกันไว้ ใน 15 ปีที่ผ่านมา Green equity funds มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน
— การกู้ยืมสีเขียว (Green loans) คือการกู้ยืมเงินเพื่อไปใช้สร้างความยั่งยืนด้านสิงแวดล้อม ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับตราสารหนี้สีเขียว
“ถึงแม้ว่า Green bonds, Green equity funds และ Green loans จะช่วยเปิดทางให้นักลงทุนสามารถลงทุนโครงการที่มีความยั่งยืน แต่การที่จะมีเงินทุนเพียงพอกับจำนวนที่คาดว่าจะต้องใช้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือทางการเงินอื่นเข้ามาช่วยด้วย” กาเนสัน โคลันเดเวลู หัวหน้าฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน เคพีเอ็มจี ประเทศไทยกล่าว “ซึ่งเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้อาจรวมถึงสินค้าสีเขียวต่างๆ เช่น การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์สีเขียว (Green securitization) ทำให้สามารถรวมกลุ่มการกู้ยืมเงินขนาดเล็กเข้าไว้ด้วยกันเพื่อดึงดูดนักลงทุนกลุ่มใหม่; และการเช่า/การเช่าซื้อสีเขียว (Green leasing/renting) เช่นการเช่าซื้อสินทรัพย์ การเช่าซื้อรถยนต์ การเช่าซื้อพลังงาน และการจำนองสีเขียวเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีทางเลือกอื่นเช่น การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) ประกันด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate insurance) และตราสารหนี้ที่ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Transition and sustainability bonds) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือทางการเงินหรือโซลูชั่นแบบไหน สิ่งที่แน่ชัดคือการที่จะสร้างอนาคตสีเขียวให้สำเร็จได้นั้น จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วน ทุกอุตสาหกรรม และทุกประเทศ ที่เคพีเอ็มจี เรามีผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้องค์กรเข้าสู่เส้นทางด้านการเงินสีเขียวได้”
ไม่มีความคิดเห็น