โรคหัวใจ...ไม่ใช่เรื่องไกลตัวหยุด คุม เพิ่ม ลดความเสี่ยง ป้องกันโรค
เนื่องในวันหัวใจโลก 29 กันยายน 2563 รพ.หัวใจกรุงเทพ อยากให้ประชากรทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะการป้องกันแต่แรกเริ่มเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยโรคประจำตัว พฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารการกิน สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมตลอดจน ความเครียด เหล่านี้ เป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือกระตุ้นให้เกิดโรคทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังได้ และสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เราขอเป็นกำลังใจ และพร้อมที่จะดูแลรักษาท่านด้วยทีมหัวใจโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
นพ. เกรียงไกร เฮงรัศมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD) เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการตีบหรือตัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไขมันที่สะสมอยู่ในผนังของหลอดเลือด ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)ในรายที่เป็นเรื้อรังหรือเกิดการร่อนหลุดของตะกรันไขมันที่เกิดใหม่มาอุดหลอดเลือด (Atherothrombosis)ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นปัญหาสำคัญในทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยที่ยังคงมีความเสี่ยง และครองแชมป์การเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโลก หนึ่งในโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้มากที่สุดในปัจจุบันคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ(coronary artery disease) จากข้อมูลเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ที่ประมาณ 130 ล้านคน โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ข้อมูลโดยเฉลี่ยพบว่าผู้ชายเป็นโรคหัวใจอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านคน และผู้หญิงอยู่ที่ประมาณ 60 ล้านคน อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 150 – 300 ต่อแสนประชากร ในปีพ.ศ.2561 พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่อายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,396.40 คนต่อแสนประชากร นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่ที่ปีละประมาณ 300,000 – 350,000 แสนรายต่อปี เฉลี่ยนาทีละ 2 คน และนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ1 ของประเทศไทยในปัจจุบัน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ มาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ พันธุกรรม มีประวัติครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติสายตรง มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนอายุ 50 ปี อายุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน มีโอกาสเกิดหลอดเลือดแดงแข็งได้มากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงจะมีส่วนในการช่วยขยายเส้นเลือด หากหมดประจำเดือนหรือหมดฮอร์โมนเพศหญิงก็มีโอกาสทำให้เกิดความเสี่ยงได้ 2.ปัจจัยที่แก้ไขได้และหรือควบคุมได้ ได้แก่ โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยย่อยที่มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ได้แก่ ความเครียด การรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ไม่รับประทานผักและผลไม้ ซึ่งจะเห็นว่าความเสี่ยงเกิดจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ดังนั้น การดูแลตัวเอง การควบคุม รวมถึงการป้องกันต้องดูให้ครอบคลุมทุกด้านทั้งหมด
ลดความเสี่ยงโรคหัวใจด้วยการ หยุด คุม เพิ่ม 1.หยุดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย สารพิษในควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบลง อาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจขาดเลือดได้ หยุดความเครียด เพราะความเครียดจะเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 2.คุมน้ำหนัก โรคอ้วนยังคงเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย ยิ่งไปกว่านั้นคือส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา คุมเบาหวานและไขมันในเลือด คนที่เป็นโรคเบาหวาน หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดช้า ทำให้น้ำตาลและไขมันไปเกาะกับผนังหลอดเลือด เกิดการอักเสบได้ คุมความดัน เพราะความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 3.เพิ่ม อาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผักและผลไม้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมสัปดาห์ละ 150 นาที
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา เทคโนโลยี และการให้บริการ ตั้งแต่การป้องกันโรคหัวใจ การตรวจรักษาและการฟื้นฟูส่งเสริมสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ โดยได้รับการรับรองผลการรักษาจากสถาบันระดับโลก “Joint Commission International หรือ JCI” มาอย่างต่อเนื่องล่าสุดปีพ.ศ.2562 และ ได้รับการรับรองเฉพาะโรค (Clinical Care Program Certification หรือ CCPC) จาก JCI อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 และพ.ศ. 2560 ในด้านการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (AMI: Acute Myocardial Infarction) และ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)
นพ.เกรียงไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องในวันหัวใจโลก รพ.หัวใจกรุงเทพ ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ภายใต้คอนเซปต์ "Use heart to beat heart disease" พิชิตโรคหัวใจ ด้วยใจที่เข้มแข็ง ให้ทุกคนได้เข้าใจและเห็นความสำคัญในการดูแลโรคหัวใจและการป้องกันโรค รวมถึงการตรวจสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด หากอายุยังไม่มาก ไม่มีประวัติครอบครัวที่มีความเสี่ยง ตรวจสุขภาพประจำปีแล้วไม่พบ ทั้งเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สามารถดูแลตนเองได้ตามปกติ แต่หากพบปัจจัยเสี่ยงหรือมีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจเช็กสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี เพื่อดูแลหัวใจให้แข็งแรง ถ้าสามารถดูแลทุกอย่างให้ครอบคลุม คนไข้ดูแลตัวเองให้ดี รพ.ให้บริการดูแลคนไข้อย่างใส่ใจมีคุณภาพและประสิทธิภาพ คนไข้ก็จะอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ มาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ พันธุกรรม มีประวัติครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติสายตรง มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อยหรือเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนอายุ 50 ปี อายุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน มีโอกาสเกิดหลอดเลือดแดงแข็งได้มากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงจะมีส่วนในการช่วยขยายเส้นเลือด หากหมดประจำเดือนหรือหมดฮอร์โมนเพศหญิงก็มีโอกาสทำให้เกิดความเสี่ยงได้ 2.ปัจจัยที่แก้ไขได้และหรือควบคุมได้ ได้แก่ โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยย่อยที่มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ได้แก่ ความเครียด การรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ไม่รับประทานผักและผลไม้ ซึ่งจะเห็นว่าความเสี่ยงเกิดจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ดังนั้น การดูแลตัวเอง การควบคุม รวมถึงการป้องกันต้องดูให้ครอบคลุมทุกด้านทั้งหมด
ลดความเสี่ยงโรคหัวใจด้วยการ หยุด คุม เพิ่ม 1.หยุดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย สารพิษในควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบลง อาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจขาดเลือดได้ หยุดความเครียด เพราะความเครียดจะเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 2.คุมน้ำหนัก โรคอ้วนยังคงเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย ยิ่งไปกว่านั้นคือส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา คุมเบาหวานและไขมันในเลือด คนที่เป็นโรคเบาหวาน หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดช้า ทำให้น้ำตาลและไขมันไปเกาะกับผนังหลอดเลือด เกิดการอักเสบได้ คุมความดัน เพราะความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 3.เพิ่ม อาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผักและผลไม้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมสัปดาห์ละ 150 นาที
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา เทคโนโลยี และการให้บริการ ตั้งแต่การป้องกันโรคหัวใจ การตรวจรักษาและการฟื้นฟูส่งเสริมสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ โดยได้รับการรับรองผลการรักษาจากสถาบันระดับโลก “Joint Commission International หรือ JCI” มาอย่างต่อเนื่องล่าสุดปีพ.ศ.2562 และ ได้รับการรับรองเฉพาะโรค (Clinical Care Program Certification หรือ CCPC) จาก JCI อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 และพ.ศ. 2560 ในด้านการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (AMI: Acute Myocardial Infarction) และ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)
นพ.เกรียงไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องในวันหัวใจโลก รพ.หัวใจกรุงเทพ ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ภายใต้คอนเซปต์ "Use heart to beat heart disease" พิชิตโรคหัวใจ ด้วยใจที่เข้มแข็ง ให้ทุกคนได้เข้าใจและเห็นความสำคัญในการดูแลโรคหัวใจและการป้องกันโรค รวมถึงการตรวจสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด หากอายุยังไม่มาก ไม่มีประวัติครอบครัวที่มีความเสี่ยง ตรวจสุขภาพประจำปีแล้วไม่พบ ทั้งเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สามารถดูแลตนเองได้ตามปกติ แต่หากพบปัจจัยเสี่ยงหรือมีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจเช็กสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี เพื่อดูแลหัวใจให้แข็งแรง ถ้าสามารถดูแลทุกอย่างให้ครอบคลุม คนไข้ดูแลตัวเองให้ดี รพ.ให้บริการดูแลคนไข้อย่างใส่ใจมีคุณภาพและประสิทธิภาพ คนไข้ก็จะอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น